ระบบหายใจ
การหายใจ (respiration) เป็นการนำอากาศเข้าและออกจากร่างกาย ส่งผลให้แก๊สออกซิเจนทำปฏิกิริยากับสารอาหาร ได้พลังงาน น้ำ
และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ กระบวนการหายใจเกิดขึ้นกับทุกเซลล์ตลอดเวลา
ความสำคัญของระบบหายใจ
1. แลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างปอดกับอากาศภายนอก
2. ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
3. ช่วยในการรับกลิ่น เนื่องจากที่จมูกมีเซลล์และประสาทรับกลิ่นอยู่ด้วย
4. ช่วยในการขับสารเคมีบางชนิดเมื่อเข้าสู่ร่างกาย
5. ช่วยทำให้เกิดเสียงโดยอาศัยหลอดเสียง
ซึ่งเป็นอวัยวะในระบบหายใจ
มนุษย์ทุกคนต้องหายใจเพื่อมีชีวิตอยู่
การหายใจเข้า อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้
1.จมูก (Nose)
จมูกส่วนนอกเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย
จมูกส่วนนอกเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย
ภาพแสดงลักษณะภายในของจมูก
2. หลอดคอ (Pharynx)
เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดคอ ซึ่งเป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาวประมาณ 5 " หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน โครงของหลอดคอประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นที่ใหญ่ทีสุด คือกระดูกธัยรอยด์ ที่เราเรียกว่า "ลูกกระเดือก" ในผู้ชายเห็นได้ชัดกว่าผู้หญิง
3. หลอดเสียง (Larynx)
เป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 cm ในผู้ชาย และ 3.5 cm ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติยโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชาย
4. หลอดลม (Trachea)
เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดคอ ซึ่งเป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาวประมาณ 5 " หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน โครงของหลอดคอประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นที่ใหญ่ทีสุด คือกระดูกธัยรอยด์ ที่เราเรียกว่า "ลูกกระเดือก" ในผู้ชายเห็นได้ชัดกว่าผู้หญิง
3. หลอดเสียง (Larynx)
เป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 cm ในผู้ชาย และ 3.5 cm ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติยโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชาย
4. หลอดลม (Trachea)
เป็นส่วนที่ต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก
ลักษณะรูปร่างของหลอดลมเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U
ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น
วางอยู่ทางด้านหลังของหลอดลม ช่องว่าง ระหว่างกระดูกอ่อนรูปตัว U ที่วางเรียงต่อกันมีเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเรียบมายึดติดกัน
การที่หลอดลมมีกระดูกอ่อนจึงทำให้เปิดอยู่ตลอดเวลา
ไม่มีโอกาสที่จะแฟบเข้าหากันได้โดยแรงดันจากภายนอก จึงรับประกันได้ว่าอากาศเข้าได้ตลอดเวลา
หลอดลม ส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลังช่วงอกแตกแขนงออกเป็นหลอดลมแขนงใหญ่ (Bronchi)
ข้างซ้ายและขวา
เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กในปอดหรือที่เรียกว่า หลอดลมฝอย (Bronchiole)
และไปสุดที่ถุงลม (Aveolus) ซึ่งเป็นการที่อากาศอยู่
ใกล้กับเลือดในปอดมากที่สุด จึงเป็นบริเวณแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน
กับคาร์บอนไดออกไซด์
เอนไซม์ .
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างก๊าซออกซิเจนกับอาหารจะแพร่ออกจากเซลล์เข้าสู่หลอดเลือดฝอยและลำเลียงไปยังปอด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะแพร่เข้าสู่หลอดลมเล็กๆ
ของปอดขับออกจากร่างกายพร้อมกับลมหายใจออก
ความจุอากาศของปอด ความจุอากาศของปอดในแต่ละคนจะแตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับ
การบำรุงรักษาระบบหายใจ
การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบหายใจ
ภาพแสดงลักษณะของหลอดลม
5. ปอด (Lung)
ปอดมีอยู่สองข้าง
วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก
ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลัง
ฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลม ระหว่างปอด 2 ข้าง
จะพบว่ามีหัวใจอยู่ ปอดข้างขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซ้ายมี 2 ก้อน
หน้าที่ของปอดคือ
การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด
และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ
6. เยื่อหุ้มปอด (Pleura)
เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็นมันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มปอดซึ่งมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่นิดหน่อย เพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด
เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็นมันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มปอดซึ่งมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่นิดหน่อย เพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด
ภาพลักษณะของปอด
กลไกการทำงานของระบบหายใจ
1. การหายใจเข้า
(Inspiration) กะบังลมจะเลื่อนต่ำลง
กระดูกซี่โครงจะเลื่อนสูงขึ้น ทำให้ปริมาตรของช่องอกเพิ่มขึ้น
ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดลดต่ำลงกว่าอากาศภายนอก
อากาศภายนอกจึงเคลื่อนเข้าสู่จมูก หลอดลม และไปยังถุงลมปอด
2.
การหายใจออก (Expiration) กะบังลมจะเลื่อนสูง
กระดูกซี่โครงจะเลื่อนต่ำลง ทำให้ปริมาตรของช่องอกลดน้อยลง
ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดสูงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายในถุงลมปอดจึงเคลื่อนที่จากถุงลมปอดไปสู่ หลอดลมและออกทางจมูก
สิ่งที่กำหนดอัตราการหายใจเข้าและออก
คือ ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด
- ถ้าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดในเลือดต่ำจะทำให้การหายใจช้าลง
เช่น การนอนหลับ
- ถ้าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดในเลือดสูงจะทำให้การหายใจเร็วขึ้น เช่น การออกกำลังกาย
การหมุนเวียนของแก๊ส เป็นการแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซออกซิเจน
เกิดขึ้นที่บริเวณถุงลมปอด ด้วยการแพร่ของก๊าซออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย
และก๊าซออกซิเจนทำปฎิกิริยากับสารอาหารในเซลล์ของร่างกาย ทำให้ได้พลังงาน น้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังสมการ
เอนไซม์ .
1. เพศ เพศชายจะมีความจุปอดมากกว่าเพศหญิง
2. สภาพร่างกาย นักกีฬามีความจุของปอดมากกว่าคนปกติ
3. อายุ ผู้สูงอายุจะมีความจุปอดลดลง
4. โรคที่เกิดกับปอด โรคบางชนิด เช่นถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็งจะทำให้มีความจุปอด ลดลง
2. สภาพร่างกาย นักกีฬามีความจุของปอดมากกว่าคนปกติ
3. อายุ ผู้สูงอายุจะมีความจุปอดลดลง
4. โรคที่เกิดกับปอด โรคบางชนิด เช่นถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็งจะทำให้มีความจุปอด ลดลง
ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราการหายใจเข้าและการหายใจออกที่สำคัญประการหนึ่ง
คือ ความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด เช่น ในขณะ ที่เรากลั้นหายใจ
ความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ในเลือดจะสูงขึ้น ซึ่งความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นนี้จะไปกระตุ้นการทำงานของร่างกายให้เกิดการหายใจขึ้นจนได้
ในขณะที่นอนหลับร่างกายจะถูกกระตุ้นน้อยลง
จึงทำให้การหายใจเป็นไปอย่างช้าความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ในเลือดที่มีมากเกินไป เป็นอีกสาเหตุ หนึ่งที่ทำให้เกิดอาการหาว ซึ่งการหาวที่เกิดขึ้นนั้นก็เพื่อ
เป็นการขับ เอาแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ ที่สะสมอยู่มากเกินไปออกจากร่างกาย
การไอ จาม สะอึก และการหาว
อาการที่เกี่ยวข้องกับการหายใจมีดังนี้
1. การจาม เกิดจากการหายใจเอาอากาศที่ไม่สะอาดเข้าไปในร่างกาย
ร่างกายจึงพยายามขับสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นออกมานอกร่างกาย
โดยการหายใจเข้าลึกแล้วหายใจออกทันที
2. การหาว เกิดจากการที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมอยู่ในเลือดมากเกินไป
จึงต้องขับออกจากร่างกาย โดยการหายใจเข้ายาวและลึก เพื่อรับแก๊สออกซิเจนเข้าปอดและแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเลือด
3. การสะอึก เกิดจากกะบังลมหดตัวเป็นจังหวะๆ
ขณะหดตัวอากาศจะถูกดันผ่านลงสู่ปอดทันที ทำให้สายเสียงสั่น เกิดเสียงขึ้น
4. การไอ เป็นการหายใจอย่างรุนแรงเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไปในกล่องเสียงและหลอดลม
ร่างกายจะมีการหายใจเข้ายาวและหายใจออกอย่างแรง
การบำรุงรักษาระบบหายใจ
ระบบหายใจ
เป็นระบบที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก หากร่างกายหยุดหายใจเพียง 4-5 นาที
จะส่งผลให้เซลล์สมองตายได้เพราะขาดแก๊สออกซิเจน และถ้าอวัยวะต่าง ๆ
ของระบบหายใจผิดปกติหรือเกิดโรค
จะส่งผลกระทบทำให้ร่างกายอ่อนแอลงและอาจเสียชีวิตได้ เช่น ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง
ผนังถุงลมจะเสียความยืดหยุ่นและเปราะง่าย
ทำให้ถุงลมสูญเสียหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส มีแก๊สออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงร่างกายน้อยลง
ผู้ป่วยจึงเหนื่อยหอบง่าย และถ้ามีความรุนแรงมากขึ้น
จนอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตในที่สุด เป็นต้น
การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบหายใจ
การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบหายใจนั้น
สามารถดำเนินการได้ดังต่อไปนี้
1. ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ จะช่วยให้กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หายใจแข็งแรง
และมีกำลังเพิ่มขึ้น ปอดขยายใหญ่ขึ้น มีปริมาณความจุปอดเพิ่มขึ้น ทำให้ปอดสามารถรองรับอากาศได้มากขึ้น
จึงมีแก๊สออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมากขึ้นด้วย
2. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัดและสถานที่ที่มีมลพิษทางอากาศปนเปื้อนอยู่สูง เพราะสารมลพิษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง
แก๊สที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น แก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นต้น และเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อ โรคหวัด เชื้อโรควัณโรคปอด เป็นต้น
หากร่างกายได้รับเข้าไปมากหรือเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้
เช่น โรคหวัด วัณโรคปอด โรคหลอดลมอักเสบ เป็นต้น
3. งดสูบบุหรี่ ในบุหรี่มีสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอยู่หลายชนิด
เช่น สารทาร์ นิโคติน สารก่อมะเร็ง เป็นต้น ทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่มีสมรรถภาพความจุปอดลดลง
จึงเหนื่อยง่าย และยังเป็นตัวก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ และโรคอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งที่ปอด โรคถุงลมโป่งพอง
โรคความดันเลือดสูง เป็นต้น
4. รักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ โดยการรับประทานอาหารให้ครบ
5 หมู่ และพักผ่อนให้เพียงพอ
5. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ควรรักษาความอบอุ่นของร่างกายอยู่เสมอ
ไม่ตากน้ำค้างหรือตากฝน เพื่อป้องกันการเป็นหวัด
6. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยทางเดินหายใจ
7. ปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม
8. ไม่ควรใช้เสื้อผ้า สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
โดยเฉพาะเมื่อป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ
9. ระวังอุบัติเหตุโดยเฉพาะการกระแทกหน้าอก เพราะอาจเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจได้
10. เมื่อเกิดความผิดปกติต่อระบบทางเดินหายใจ
ควรรีบพบแพทย์ทันที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น